ระบบการศึกษาของแคนาดา
เป็นที่ยอมรับกันว่า ระบบการศึกษาของแคนาดา เป็นหนึ่งในระบบการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก เนื่องจากเป็นระบบการศึกษาของภาครัฐที่เข้มแข็งและยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ แคนาดายังมีบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพและเพียบพร้อมไปด้วยประสบการณ์ ซึ่งทำให้นักเรียนนักศึกษาได้ประโยชน์สูงสุดจากการเรียนกับบุคลากรเหล่านี้ โดยในระดับมหาวิทยาลัย อาจารย์ผู้สอน 2 คนจากจำนวน 5 คน จบปริญญาจากประเทศอย่างน้อยๆ 1 ใบ ที่สำคัญ หลักสูตรการเรียนการสอนของแคนาดายังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสร้างอนาคตที่มั่นคงทางอาชีพและสามารถหางานทำเพื่อสร้างอนาคตที่สดใสหลังเรียนจบได้ โดยจากการสำรวจความคิดเห็นของคนที่เรียนจบทั้งนักศึกษาขาวแคนาดาเองและนักศึกษาต่างชาติที่เรียนที่แคนาดาพบว่า คนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้งานที่มีรายได้ดีและมั่นคงในชีวิตการทำงาน
สำหรับชื่อเสียงในระดับสากลนั้น มหาวิทยาลัยของแคนาดากว่า 10% ติดอันดับ Top 200 ของมหาวิทยาลัยโลก และจากการจัดอันดับของ QS World University Rankings ประจำปี 2021 (ประกาศเมื่อ 26 เมษายน 2021) แคนาดามีมหาวิทยาลัยติด Top 50 ของอันดับมหาวิทยาลัยโลกอยู่ด้วยกันถึง 3 แห่งคือ University of Toronto (อันดับ 25) McGill University (อันดับ 31) และ University of British Columbia (อันดับ 45) นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยที่ติด Top 10 ของแคนาดาและติดอันดับสวยๆของมหาวิทยาลัยโลกก็ยังมีอีกหลายแห่ง เช่น Universite de Montreal (อันดับ 118) University of Alberta (อันดับ 119) McMaster University (อันดับ 144) University of Waterloo (อันดับ 166 ร่วม) Western University ๖อันดับ 203 ร่วม) Queen’s University (อันดับ 246 ร่วม) University of Calgary (อันดับ 246 ร่วม)
ดู ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ภาพรวมระบบการศึกษา
โดยส่วนใหญ่แล้ว เด็กๆชาวแคนาดาจะเข้าเรียนชั้นอนุบาลกันตอนอายุ 4-5 ขวบและจะเรียนเป็นเวลา 1-2 ปีแล้วแต่ความประสงค์ของผู้ปกครอง หลังจบอนุบาล เด็กๆจะเข้าสู่การศึกษาภาคบังคับ โดยเริ่มตั้งแต่ Grade 1 ตอนอายุประมาณ 6 ขวบ ไปจนถึง Grade 11/12 (ขึ้นอยู่กับแต่ละรัฐและเขตการปกครอง) ตอนอายุประมาณ 16 ปี หลังจากนั้น เด็กนักเรียนชาวแคนาดาก็สามารถเลือกได้ว่า จะเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งในวิทยาลัย (Colleges) และมหาวิทยาลัย (Universities) หรือ Cegep (วิทยาลัยอาชีวะของรัฐ Quebec) หรือไม่
โครงสร้างของระบบการศึกษา
แม้ว่าแต่ละรัฐจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันไปออกไป แต่โดยภาพรวม ชาวแคนาดาต้องเข้าเรียนในระบบโรงเรียนจนถึงอายุ 16 ปี โดยแบ่งเป็น 4 ระดับดังนี้
ทั้งวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยของรัฐส่วนใหญ่จะรับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลของแต่ละรัฐและจากรัฐบาลกลางด้วย นักศึกษาแคนาดาจ่ายค่าเทอมสมทบเองเพียงเล็กน้อย
การศึกษาประเภทอื่นๆในแคนาดา
อายุและการศึกษาภาคบังคับ
แต่ละรัฐจะมีนโยบายในส่วนนี้ที่แตกต่างกัน อายุที่น้อยที่สุดที่ต้องเข้าโรงเรียนคือ 5 ขวบ ไปจนถึง 7 ขวบ (รัฐ Manitoba) โดยทั่วไปแล้ว อายุ 16 ปีคือปีสุดท้ายสำหรับมัธยมปลายที่บังคับโดยกฎหมาย อย่างไรก็ตามสำหรับบางรัฐก็ให้นักเรียนต้องอยู่ในระบบโรงเรียนจนอายุ 18 ปี เช่น Nova Scotia, New Brunswick และ Manitoba
ความแตกต่างในแต่ละรัฐ
โดยภาพรวมแล้ว เกือบทุกรัฐในแคนาดาใช้หลักสูตรการเรียนการสอนเดียวกัน ยกเว้นรัฐ Quebec ที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ แทนที่นักเรียนจะจบมัธยมปลายที่ Grade 12 เหมือนรัฐอื่นๆ Quebec ให้จบที่ Grade 11 แล้วให้เข้าเรียนต่อในวิทยาลัยทั่วไปหรือวิทยาลัยอาชีพ (Cegep) เป็นเวลา 2 ปี ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ชิมลางความชอบเรื่องอาชีพ และจะทำให้นักเรียนปรับตัวเข้ากับระบบมหาวิทยาลัยได้ดีกว่า
ภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน
ภาษาราชการของแคนาดามี 2 ภาษาคือ อังกฤษและฝรั่งเศส โรงเรียนส่วนใหญ่ในแคนาดาเปิดสอนทั้งสองภาษา โดยภาพรวม ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในระบบการศึกษาของแคนาดา แต่สำหรับรัฐควิเบคนั้น นักเรียนจะต้องเรียนเป็นภาษาฝรั่งเศสแบบเต็มรูปแบบจนจบชั้นมัธยม สำหรับผู้ที่มาอยู่ใหม่หรือผู้อพยพที่ต้องการเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ก็ต้องไปเรียนในโรงเรียนเอกชนเท่านั้น
การศึกษาในแคนาดาฟรีหรือไม่
แม้ว่า แคนาดาจะไม่ได้มีระบบการศึกษาแบบเดียว เนื่องจากแต่ละรัฐก็มีนโยบายเฉพาะของตนเอง แต่การศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึง Grade 11 หรือ Grade 12 ก็ถือว่าฟรีและไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับชาวแคนาดา สำหรับในระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยนั้น รัฐบาลก็ให้เงินทุนสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทำให้นักศึกษาแคนาดาจ่ายค่าเรียนสมทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ระบบสาธารณะสุขและการศึกษาในแคนาดา
แคนาดาจะต่างจากอเมริกาตรงที่จะมีระบบประกันสุขภาพของรัฐให้กับทุกคน แต่ละรัฐอาจจะมีกฎและระเบียบในเรื่องนี้ที่แตกต่างกันออกไป แต่ในภาพรวมแล้ว ระบบนี้จะประกันสิทธิการเข้ารับการรักษาขั้นพื้นฐานให้กับชาวแคนาดาทุกคน ส่วนอะไรที่นอกเหนือไปจากแผนประกันปกติที่รัฐคุ้มครองอยู่แล้ว ผู้ป่วยก็สามารถจ่ายสมทบเองได้ หรือไม่ก็นายจ้างของผู้ป่วยเป็นคนรับผิดชอบ
เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข้อมูลทั้งหมด เช่น ข้อความ กราฟิก รูปภาพ ภาพถ่าย และเสียง ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และถือเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฮาร์ทส์ แอนด์ มายส์ อินเตอร์เนชั่นนอล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ห้ามคัดลอก เปลี่ยนแปลง ทําซ้ำ จัดเก็บในระบบสืบค้นหรือส่งผ่านเนื้อหาในเว็บไซต์นี้หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเนื้อหา เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทฯ
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “Cookies Policy” และสามารถเลือกตั้งค่ายินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “Accept”