ข้อมูล NZ - Hearts & Minds International Education

ข้อมูล NZ - การใช้ชีวิตในนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์

การใช้ชีวิตในนิวซีแลนด์
 
วิถีชีวิต

ชาวกีวีเป็นคนรักอิสระ เป็นตัวของตัวเอง อัธยาศัยดีและเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวเสมอ ชาวกีวีเน้นความซื่อสัตย์ ทำงานหนักและยึดมั่นในความยุติธรรม นอกจากนี้ยังเน้นความสะดวกสบายและความเหมาะสมตามกาลเทศะเป็นหลักมักไม่แต่งกายหรูหราและนำสมัย

 
อาหารการกิน

อาหารหลักของประเทศนิวซีแลนด์ คือ เนื้อวัว เนื้อไก่ เนื้อแกะ อาหารทะเล ขนมปังชนิดต่างๆ นม เนยและชีส ผักสดและผลไม้มีไม่หลากหลายชนิดแต่มีตลอดทั้งปี น้ำประปาสามารถดื่มได้

อาหารเช้า:            ขนมปังปิ้งทาเนยและแยมรสต่างๆ ธัญพืช นม ผลไม้

อาหารกลางวัน:   แซนวิชใส่ผักหรือเนื้อสัตว์ พาย ผลไม้

อาหารเย็น:           เป็นอาหารมื้อหลัก อาจเป็นสลัด ซุป สเต็ก หรืออาหารจานร้อนที่หลากหลายในแต่ละวัน

นักเรียนอาจต้องเตรียมแซนวิชจากบ้านเพื่อนำไปทานกลางวันหรือเตรียมเงินส่วนตัวเพื่อซื้ออาหารกลางวันที่โรงเรียนตามที่ระบุในเอกสารของครอบครัว สำหรับนักเรียนนักศึกษาที่พักอาศัยกับครอบครัวชาวนิวซีแลนด์ ในกรณีที่ไม่ต้องการกลับมาทานอาหารมื้อเย็นในบางวันนักเรียนต้องแจ้งกับแม่บ้านหรือสมาชิกในบ้านให้ทราบล่วงหน้า

 
ที่พักในนิวซีแลนด์

ที่พักในนิวซีแลนด์มีหลายแบบให้เลือก และมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วเมืองใหญ่ๆอย่าง Auckland และ Wellington ค่าที่พักจะแพงที่สุดแต่มีกิจกรรมและสิ่งบันเทิงเริงรมย์ให้เลือกมากมาย ส่วนเมืองมหาวิทยาลัยอย่าง Hamilton, Palmerston North, Christchurch และ Dunedin นั้นค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูก ส่วนใหญ่ทางสถาบันจะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาที่พักให้นักเรียน โดยที่นักเรียนสามารถเลือกได้ดังนี้

1. โฮมสเตย์ หรือ พักกับครอบครัวชาวนิวซีแลนด์ (Homestay)

เป็นการพักอาศัยอยู่กับครอบครัวเจ้าของบ้าน โดยที่ทางเจ้าของบ้านจะจัดห้องนอนส่วนตัวไว้ให้ ส่วนห้องน้ำหรือบริเวณอื่นๆโดยปกติต้องใช้ร่วมกับครอบครัว รับประทานอาหารกับครอบครัว วัตถุประสงค์ของการอยู่ที่พักแบบนี้เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรม การกินอยู่ รวมทั้งฝึกภาษาและความอดทนที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น  ราคาที่พักประมาณ $240-300 /สัปดาห์

2. หอพักนักเรียน (Halls of Residence)

โรงเรียนมัธยม มหาวิทยาลัย และสถาบันโพลีเทคนิคหลายแห่งมีหอพักประจำให้นักเรียน มีทั้งห้องพักเดี่ยวและห้องพักรวม ส่วนใหญ่ต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน สำหรับนักเรียนมัธยมจะเป็นหอพักแบบมีอาหารให้ครบ 3 มื้อซึ่งนักเรียนจะรับประทานที่โรงอาหาร ส่วนหอพักของมหาวิทยาและสถาบันโพลีเทคจะมีให้เลือกหลายแบบขึ้นอยู่กับสถาบันนั้นๆ ราคาที่พักประมาณ $250-385/สัปดาห์

3. บ้านพักหรือหอพักเอกชน

นักเรียน/นักศึกษาที่อายุมากกว่า 18ปี สามารถเลือกอยู่หอพักหรือบ้านพักของเอกชนได้ โดยอาจเลือกอยู่กับเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ราคาค่าบ้านพักหรือหอพักขึ้นอยู่กับเมืองและย่าน ประมาณ $150-250/สัปดาห์ แบบแชร์กันอยู่ หรือประมาณ $350- 450/สัปดาห์ แบบห้องเดี่ยว โดยนักเรียนอาจต้องชำระค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าเครื่องนอน ค่าอาหารและค่าใช้จ่ายอื่นๆเอง

 
 
ระบบเงินตรา

ประเทศนิวซีแลนด์ใช้สกุลเงินนิวซีแลนด์ดอลลาร์ (New Zealand Dollar- NZD) โดย 1 ดอลล่าร์มีค่าเท่ากับ 100 เซนต์ รูปแบบเงินจะมีแบบธนบัตรและแบบเหรียญ ดังนี้

  • ธนบัตร แบ่งเป็นใบละ 5, 10, 20, 50 และ 100ดอลล่าร์
  • เหรียญ แบ่งเป็น 10, 20, 50 เซ็นต์ 1 และ 2 ดอลลาร์
 
ระบบไฟฟ้า

ประเทศนิวซีแลนด์ใช้กระแสไฟฟ้า 220-240 โวลต์ เช่นเดียวกับประเทศไทย โดยเราสามารถนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปใช้ได้ แต่จะต้องเตรียมเต้าเสียบ (Adaptor) ชนิด 3ขา เพื่อเชื่อมต่อกับเต้ารับ Adaptor นี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป แนะนำว่าควรเตรียมปลั๊กไฟฟ้าแบบหลายช่องเสียบไปเพิ่มเติมเพื่อสามารถใช้งานต่างๆได้อย่างเพียงพอ เช่น การเสียบชาร์จแบตโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ในเวลาเดียวกัน เป็นต้น


image001.jpg (10 KB)

 
ระบบประปาและน้ำดื่ม

นิวซีแลนด์มีระบบน้ำประปาที่ดีและแยกเป็นระบบน้ำร้อนและน้ำเย็นซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งการอุปโภคและบริโภคได้โดยไม่จำเป็นต้องต้มก่อน น้ำจากก๊อกน้ำในห้องครัวสามารถดื่มและใช้ทำกับข้าวได้ แนะนำให้เตรียมขวดน้ำสำหรับนำไปดื่มในระหว่างวัน เพราะน้ำดื่มที่นั่นจะมีราคาแพงกว่าประเทศไทย

 
การเงินการธนาคาร

นิวซีแลนด์มีธนาคารที่เปิดให้บริการสำหรับนักศึกษาต่างชาติหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ANZ, ASB, BNZ, Kiwi Bank หรือ Westpec โดยธนาคารส่วนใหญ่จะเปิดบริการวันจันทร์ถึงวันศุกร์ การฝาก-ถอน โอนเงินสามารถใช้บริการเคาน์เตอร์ที่สาขา หรือสามารถทำธุรกรรมผ่านทาง Internet Banking ซึ่งธนาคารจะมีคอยไว้ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และบริการตู้ ATM ที่มีกระจายอยู่ทั่วไป หรือสามารถดาวน์โหลด application เพื่อใช้กับสมาร์ทโฟนได้เช่นกัน

 
การเปิดบัญชีธนาคาร

ธนาคารที่นิวซีแลนด์หลักๆจะมี ANZ, ASB, Westpec และ Kiwi Bank ที่เปิดให้บริการอยู่ น้องที่ถือวีซ่านักเรียนสามารถที่จะทำเรื่องเปิดบัญชีธนาคารได้ โดยทางโรงเรียนที่น้องจะไปเรียนนั้นจะช่วยทำเรื่องนัดหมายเปิดบัญชีกับทางธนาคารให้ ข้อแตกต่างของระบบบัญชีที่นิวซีแลนด์คือ จะไม่มีสมุดบัญชีให้ถือเก็บไว้ ทุกอย่างจะเป็นระบบออนไลน์หมด โดยการเข้าใช้งานด้วย application หรือ internet banking โดยจะต้องมี log in กับ password ในการเข้าไปทำธุรกรรมทางการเงิน หลักๆแล้วเมื่อทำเรื่องเปิดบัญชีธนาคารแล้ว น้องๆอาจจะต้องรอประมาณ 3-7 วันทำการ น้องจะได้รับบัตร Eft-Pos (บัตรเอทีเอ็ม) มาเพื่อใช้ในการชำระสินค้าหรือบริการได้ทุกร้านในประเทศนิวซีแลนด์ น้องๆ ควรจะเก็บ username กับ password ของน้องไว้ให้อย่างปลอดภัยอย่างให้คนอื่นทราบนะครับ

 
การใช้บัตร ATM ชำระค่าสินค้าและบริการ

การซื้อของและชำระค่าสินค้าต่างๆ เราสามารถใช้บัตร Debit ชำระได้โดยจะเรียกว่า Eft-Pos โดยการแตะบัตรหรือเสียบบัตรเข้ากับเครื่องชำระเงินและเลือกการตัดเงินจากบัญชีออมทรัพย์ (Saving) และใส่รหัสบัตรเพื่อยืนยันการชำระเงิน

 
การสื่อสาร โทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต

ประเทศนิวซีแลนด์มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลักๆ 3 เครือข่ายได้แก่ Vodafone, 2degrees และ Spark โดยปกตินักศึกษาไทยสามารถนำโทรศัพท์มือถือจากเมืองไทยไปใช้ได้ โดยซื้อเพียงซิมการ์ดที่จะมีให้เลือกทั้งแบบ Pre-paid (เติมเงิน) และ Post-paid (รายเดือน) และมีแพคเกจค่าโทรและอินเตอร์เน็ตให้เลือกตามความต้องการ

สำหรับผู้ปกครอง เพื่อน หรือญาติ ที่ต้องการโทรออกจากประเทศไทยไปยังนิวซีแลนด์ รหัสประเทศของนิวซีแลนด์คือ +64

 
ที่ทำการไปรษณีย์

New Zealand Post หรือไปรษณีย์นิวซีแลนด์ เปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์และวันเสาร์ในบางสาขา โดยเปิดให้บริการ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ สาขาในซุปเปอร์มาร์เก็ต สาขาในธนาคาร สาขาในร้านต่างๆไม่ว่าจะเป็น ร้านขายยา ร้านหนังสือ ฯลฯ ซึ่งนอกเหนือจากการรับส่งจดหมาย พัสดุ สิ่งของต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศแล้ว NZ Post ยังเปิดให้บริการถ่ายรูป passport photos แลกเปลี่ยนเงินตรา เติมเงินโทรศัพท์ และชำระค่าบริการต่างๆอีกด้วย

 
 
ระบบการขนส่ง

เมืองอ๊อคแลนด์เป็นประเทศที่มีการจัดการเรื่องการคมนาคมที่ดีประเทศหนึ่ง ซึ่งมีทั้งรถสาธารณะ รถไฟ และเรือเฟอร์รี่ ซึ่งทั้ง 3 ประเภทนี้ คนนิวซีแลนด์นิยมใช้กันค่อนข้างมาก ซึ่งระบบการคมนาคมของประเทศนี้ มีตารางเวลาค่อนข้างแน่นอน โดยสามารถดูตารางรถสาธารณะได้จากทางเว็บไซต์ หรือที่ป้ายรถเมล์ต่างๆ ว่ารถเมล์สายไหนผ่านป้ายรถเมล์นี้ และอีกกีนาทีรถเมล์จะมาถึงป้ายนี้เป็นต้น ส่วนรถไฟก็จะมีสถานีต้นทางที่ชื่อว่า Britomart เป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งสามารถดูตารางเดินรถได้จากที่สถานที หรือผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้เช่นกัน ที่ติดกันกับสถานีรถไฟ Britomart นั้น ก็จะมี Ferry Terminal ที่เป็นศูนย์กลางของการเดินทางด้วยเรือ สามารถเดินทางไปยังสถานที่สำคัญๆได้เช่น Devonport / Rangitoto Island หรือ Waiheke Island ได้อีกด้วย

ส่วนในเมืองอื่นๆนั้น หลักจะเดินทางกันด้วยรถสาธารณะที่มีการจัดระบบการขนส่งไว้อย่างดี มีกำหนดตารางเดินรถไว้อย่างชัดเจน เพราะฉะนั้น หากน้องๆจะเดินทางไปเที่ยวที่ไหน อย่าลืมเช็ครอบรถโดยสารก่อนการเดินทางนะครับ

 
ศูนย์การค้า ซุปเปอร์มาเก็ต ร้านค้าทั่วไปและร้านสะดวกซื้อ

ร้านค้าในนิวซีแลนด์โดยส่วนมากจะอยู่บนถนนเส้นหลักของแต่ละเมือง มีศูนย์การค้ากระจายอยู่ในเมืองหลักๆ ซุปเปอร์มาเก็ตหลักๆของนิวซีแลนด์คือ Countdown, New world, PAK′nSAVE, Fresh Choices, Four SquareและWarehouseที่นิวซีแลนด์จะไม่มี 7-11 แต่จะมีร้านสะดวกซื้อชื่อที่เปิด 24 ชั่วโมงในบางสาขาหรือเป็นร้านขายของชำตามพื้นที่นั้นๆ

ข่าวสารทั้งหมด
ข่าวสารอื่นๆ

COMPANY PROFILE

อ่านต่อ

Living in Australia

อ่านต่อ
คำสงวนลิขสิทธิ์ (Copyright)

เนื้อหาในเว็บไซต์นี้ รวมถึงข้อมูลทั้งหมด เช่น ข้อความ กราฟิก รูปภาพ ภาพถ่าย และเสียง ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และถือเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฮาร์ทส์ แอนด์ มายส์ อินเตอร์เนชั่นนอล เอ็ดดูเคชั่น จำกัด ห้ามคัดลอก เปลี่ยนแปลง ทําซ้ำ จัดเก็บในระบบสืบค้นหรือส่งผ่านเนื้อหาในเว็บไซต์นี้หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของเนื้อหา เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางบริษัทฯ

เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่ “Cookies Policy” และสามารถเลือกตั้งค่ายินยอมการใช้คุกกี้ได้โดยคลิก “Accept